พรรคการเมืองและชื่อบุคคลที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี ของ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562

ภาพรวม

ที่ผ่านมานับแต่ปี 2544 พรรคการเมืองซึ่งเป็นพันธมิตรทางการเมืองของทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งทั่วไปทุกครั้ง (ได้แก่ พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย) ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่พรรคเพื่อไทยส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขตไม่ครบทุกเขตทั่วประเทศ[25] แต่ใช้วิธีการตั้งพรรคไทยรักษาชาติเป็นพรรคพี่-พรรคน้องส่งผู้สมัครในเขตที่พรรคเพื่อไทยไม่น่าชนะเพื่อหวังเพิ่มที่นั่งจากระบบจัดสรรปันส่วนผสม[26]:156 ส่วนพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กพยายามดึงตัว ส.ส. และ "ผู้สมัครสอบตก" เข้าร่วมพรรคเพื่อเพิ่มที่นั่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อ[11] การเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ พรรคอนาคตใหม่ ส่งเสริมแนวร่วมต่อต้านรัฐประหาร โดยหัวหน้าพรรค ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ วางตัวเป็นผู้สมัครที่มีความคิดก้าวหน้า (progressive) มากที่สุด[26]:156 ฝ่าย คสช. ใช้วิธีการตั้งพรรคที่ดึงดูดเสียงจากทุกส่วนในทำนองเดียวกับพรรคสามัคคีธรรมในปี 2535 ดันแคน แม็กคาร์โกเขียนว่าพรรคพลังประชารัฐมีการซื้อตัวผู้สมัครและได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐและข้าราชการท้องถิ่น[26]:156 วันที่ 8 กุมภาพันธ์ กกต. สรุปยอดผู้สมัคร ส.ส. พบมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตจำนวน 11,128 คน จากพรรคการเมือง 80 พรรค และแบบบัญชีรายชื่อ 2,718 คนจาก 72 พรรค รวม 13,846 คน เทียบกับผู้สมัครในปี 2554 จำนวน 3,832 คน[27]

ชื่อบุคคลที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 กกต. ประกาศรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วยพรรคการเมืองที่เสนอรายชื่อ จำนวน 44 พรรค รวม 68 รายชื่อ ในการเลือกตั้งครั้งนี้ซึ่งกฎหมายเปิดให้บุคคลที่มิใช่ ส.ส. เป็นนายกรัฐมนตรีได้ พรรคการเมืองหลายพรรคเตรียมเสนอชื่อพลเอกประยุทธ์กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีพรรคพลังประชารัฐเป็นพรรคหลักที่สนับสนุนคณะรัฐประหาร พลเอกประยุทธ์ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคอย่างเป็นทางการ แต่มีรัฐมนตรีหรือที่ปรึกษาของเขาเป็นผู้บริหารของพรรคพลังประชารัฐ[28] จึงมีการแบ่งพรรคการเมืองต่าง ๆ ออกเป็นสามฝ่ายใหญ่ ฝ่ายหนึ่งสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ เช่น พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาชนปฏิรูป พรรคพลังชล เป็นต้น ฝ่ายหนึ่งคัดค้านพลเอกประยุทธ์ เช่น พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ พรรคเสรีรวมไทย เป็นต้น และอีกฝ่ายหนึ่งที่มีจุดยืนไม่ชัดเจน เช่น พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นต้น[29] วันที่ 10 มีนาคม 2562 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศว่าจะไม่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ฝ่ายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่า ไม่ใช่แค่ไม่เอาพลเอกประยุทธ์ แต่ต้องไม่เอาพรรคพลังประชารัฐด้วย เชื่อว่ามีบางพรรคที่บอกว่าไม่เอาพลเอกประยุทธ์ แต่อยากจับมือพลังประชารัฐเพื่อชูตัวเองขึ้นเป็นนายกฯ[30]

พรรคประชาธิปัตย์พรรคพลังประชารัฐพรรคเพื่อไทยพรรคภูมิใจไทยพรรคอนาคตใหม่
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะประยุทธ์ จันทร์โอชาสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ชัยเกษม นิติสิริอนุทิน ชาญวีรกูลธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
นายกรัฐมนตรี
(2551–2554)
นายกรัฐมนตรี (2557–ปัจจุบัน)
และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (2557–2562)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(2548–2549)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
(2555–2557)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
(2556–2557)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(2544–2548)
รองประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท
(2545–2562)

กรณีเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 ผู้ดำเนินรายการ เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ช่องนาว 26 กล่าวว่า "8 กุมภา จะเป็นจุดเปลี่ยนการเมืองระดับแผ่นดินไหว" และอีกตอนหนึ่งว่า "เปิด[ชื่อ]ออกมาเมื่อไร แผ่นดินไหวทางการเมืองทันที [...] ไม่ใช่คนตระกูลชินวัตร หรือวงศ์สวัสดิ์ จะเป็นชื่อที่อึกทึกครึกโครมทั้งแผ่นดิน"[31] ด้านหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ลงข่าวพาดหัวว่า "ประยุทธ์ยอมรับ เผื่อใจแล้ว! ไม่ได้เป็นนายกฯ"[32]

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พรรคไทยรักษาชาติยื่นพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล เป็นผู้ที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี ด้านปรีชาพล พงษ์พานิช หัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติให้สัมภาษณ์ว่า "พระองค์ท่านเองทรงมีพระเมตตาตอบรับและให้พรรคไทยรักษาชาติเสนอพระนามในบัญชีนายกฯ ของพรรค"[33][34] วันเดียวกัน ไพบูลย์ นิติตะวัน หัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูป ยื่นหนังสือต่อประธาน กกต. ขอให้พิจารณาการเสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ ว่าเข้าข่ายขัดระเบียบ กกต. เรื่องลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ เนื่องจากทรงเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยอ้างคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในอดีตว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ต้องอยู่เหนือการเมือง[35][36]

วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:

คืนเดียวกันนั้นเอง โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยประกาศพระราชโองการของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เรื่อง สถาบันพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สรุปว่า การนำพระบรมราชวงศ์ทุกพระองค์ แม้จะทรงกราบถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์ไปแล้ว มาเกี่ยวข้องกับระบบการเมืองเป็นการกระทำที่ขัดต่อโบราณราชประเพณี ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมของชาติและไม่บังควรอย่างยิ่ง[37] ในรายชื่อที่ กกต. รับรองในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ไม่ปรากฏชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ นอกจากนี้ กกต. จะหารือต่อไปว่าการกระทำดังกล่าวของพรรคไทยรักษาชาติเข้าข่ายต้องยุบพรรคหรือไม่[38]

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/830478 http://www.bbc.com/news/business-30218621 http://www.bbc.com/thai/thailand-43221557 http://www.ft.com/intl/cms/s/0/a01892a6-fe33-11e4-... http://www.khaosodenglish.com/politics/2018/11/30/... http://www.khaosodenglish.com/politics/2019/02/18/... http://www.khaosodenglish.com/politics/2019/02/27/... http://www.khaosodenglish.com/politics/2019/03/26/... http://www.khaosodenglish.com/politics/2019/03/28/... http://www.khaosodenglish.com/politics/2019/04/02/...